ไขมันทรานส์มหันตภัยร้ายในคราบความอร่อย

อาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง(สจล.) เผยอันตรายจากไขมันทรานส์ที่่ส่วนใหญ่มักปะปนกับอาหารชนิดต่างๆ

พร้อมแนะวิธีหลีกเลี่ยง หวังผู้บริโภคสามารถเลือกอาหารที่จะรับประทานได้

จากการที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศห้ามผลิต จำหน่าย และนำเข้ากรดไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้อีก 180 วันหรือ 6 เดือนข้างหน้า

เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนว่าส่งผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด เมื่อวันที่ 13 ก.ค.61 ที่ผ่านมา

ทำให้หลายคนเริ่มสนใจและให้ความสำคัญกับคำว่า “ไขมันทรานส์” ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี 2555-2558

พบว่าประเทศไทยมีอันตราเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดหัวใจมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

โดยในปี 2558 พบอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 28.92 ต่อประชากร 1แสนคน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2คน

จากสถิติแสดงให้เห็นว่าเป็นโรคที่รุนแรง ต้องให้ความสำคัญในการดูแล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง

ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้มีภาวะอ้วน สูบบุหรี่และไขมันในเลือดสู

 


ดร. สุพัตรา กาญจนประทุม ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันและสารต้านอนุมูลอิสระในระบบอาหาร

และอาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า ไขมันทรานส์ เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจน ในการเปลี่ยนไขมันไม่อิ่มตัว ให้เป็นไขมันอิ่มตัว

เช่น การผลิตเนยขาว (Shortening) จากน้ำมันพืช การผลิตเนยเทียม (Margarine) จากน้ำมันพืช

รวมทั้งกระบวนการกำจัดกลิ่น (Deodorization) ในกระบวนการผลิตน้ำมันเพื่อการบริโภค และกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อนสูง

เช่น อาหารที่ผ่านกระบวนการทอด รวมทั้งแฮมเบอร์เกอร์ โดนัท ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เฟรนซ์ฟรายส์ คุกกี้ เนยขาว เนยเทียมครีมเทียม เค้ก แคร้กเกอร์ วิปครีม นักเก็ต

 
ดร. สุพัตรา กล่าวต่อว่า อันตรายของไขมันทรานส์นั้นมีผลกระทบกับสุขภาพของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

เพราะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดต่อโรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary heart disease (CHD)

นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคคอเลสเตอรอลสูง เพิ่มปริมาณคอลเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL)

ลดปริมาณคอลเลสเตอรอลชนิดดี(HDL)และยังเป็นสาเหตุให้ปริมาณไขมัน (Triglyceride) ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
สำหรับการหลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์นั้นสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเลือกใช้ไขมันที่ไม่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation)

เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือไขมันดัดแปรที่ได้จากการผสมรวมกันของไขมันหลายชนิด แทนการใช้เนยเทียม เนยขาว

หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารประเภทไขมัน ด้วยความร้อนสูง เช่นการทอด (Deep fry) และไม่ควรใช้น้ำมันทอดซ้ำ

อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อดูที่เปอร์เซ็นต์ไขมันทรานส์เป็น 0 หรือน้อยกว่า 0.5กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภ

จำกัดปริมาณอาหารประเภทไขมันให้เหมาะสมในการรับประทาน แล้วเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน

โดยเฉพาะการรับประทานผักและผลไม้ซึ่งอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประฌโยชน์กับร่างกาย ดร. สุพัตรา กล่าวสรุป

ข่าวจาก : ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์

จำนวนเข้าชม : 7802